top of page

ไดโนเสาร์ในอาเซียน


อาเซียน(ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ,สังคม และวัฒนธรรม สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณกาล เพราะ มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ และสัตว์ร่วมยุคอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับไปเมื่อช่วงมหายุคมีโซโซอิก(ประมาณ 240-66 ล้านปีก่อน) แถบบริเวณฝั่งตะวันออก(อินโดจีน)ยกตัวสูง มีการสะสมตัวของตะกอนบนบก อีกทั้งมีสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะกับการอยู่อาสัยของสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงไดโนเสาร์

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในอาเซียน 4 ประเทศ มาดูกันว่ามีประเทศใดบ้าง

1. ประเทศไทย

มามองดูภาพรวมในอาเซียน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์มากที่สุดในอาเซียน โดยค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในปีพ.ศ.2519 ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ต่อมาในปีพ.ศ.2524 จึงร่วมการการขุดค้นอย่างเป็นระบบจนทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันได้มีการค้นพบไดโนเสาร์มากกว่า 16 ชนิด

ไดโนเสาร์ไทยชนิดใหม่ของโลก 9 ชนิด

ภูกุ้มข้าว หลุมขุดค้นที่พบซากโครงกระดูกไดโนเสารืที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

2. ประเทศลาว

เมื่อย้อนกลับไปเมื่อช่วงที่ฝรั่งเศสล่าอาณานิคม ประเทศลาวเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ผลจากการที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองดินแดนแห่งนี้ ฝรั่งเสสจึงได้ส่งนักธรณีวิทยามาสำรวจในประเทศลาว จนหลายปีต่อมาก็พบรอยเท้าไดโนเสาร์ จนกระทั่งพบกระดูกของไดโนเสาร์ในสะหวันนะเขต สำหรับไดโนเสาร์ในประเทศลาวถือได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ไดโนเสาร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คือ อิกธีโอเวนาเตอร์ [ Ichthyovenator laosensis Allain et al., 2012 ] ไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่ม"สไปโนซอร์" มีลักษณะที่โดดเด่นตรงที่สันหลังที่แหว่ง ซึ่งไม่เหมือนในสไปโนซอร์ตัวอื่น ๆ

กระดูกสันหลังของอิกธีโอเวนาเตอร์

3. ประเทศมาเลเซีย

ปีพ.ศ.2555 ทีมนักบรรพชีวินวิทยาได้พบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่รัฐปะหัง ประเทศมาเลเซีย ฟอสซิลที่พบเป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่ม"สไปโนซอร์" มีความยาว 23มม. มีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น(ประมาณ 140 ล้านปีก่อน) การค้นพบครั้งนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่จะผลักดันให้ช่วยค้นพบไดโนเสาร์ในครั้งต่อไปในมาเลเซีย

ฟอสซิลฟันของไดโนเสาร์กลุ่มสไปโนซอริด

ที่มา: ResearchSEA

4. ประเทศเมียนมา

สำหรับประเทศนี้ ถึงจะมาช้า แต่ก็ได้สร้างความตกตะลึงให้กับวงการบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก จากการค้นพบหางไดโนเสาร์ในก้อนอำพันอายุประมาณ 99 ล้านปี ซึ่งค้นพบในรัฐขะฉิ่น ประเทศเมียนมา จากการวิเคราะห์คาดว่าเป็นหางของไดโนเสาร์กลุ่ม"ซีลูโลซอร์" ความน่าตื้นเต้นของการค้นพบนี่ คือ การที่ได้เห็นขนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาก สามารถมองเห็นได้แบบ3มิติ (การค้นพบขนของไดโนเสาร์ในสมัยก่อนๆเป็นการค้นพบบนแผ่นหิน ทำให้มองเห็นขนใน2มิติ)นี่ถือเป็นการค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ของวงการบรรพชีวินวิทยาเลยก็ว่าได้ ซึ่งในอนาคตอาจช่วยให้เราเข้าใจลักษณะโครงสร้างผิวหนังของไดโนเสาร์ที่มีขนมากขึ้นก็เป็นได้

หางของไดโเสาร์ในก้อนอำพัน

ที่มา: R.C. MCKELLAR, ROYAL SASKATCHEWAN MUSEUM

ภาพวาดไดโนเสาร์เทอโรพอดกลุ่ม"ซีลูโลซอร์"

ที่มา: Chung-tat Cheung

อ้างอิง

-วราวุธ สุธีธร. ไดโนเสาร์ของไทย. ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมทรัพยากรธรณี. 2545.

-พิพิธภัทฑ์ไดโนเสาร์สะหวันนะเขต

-http://news.nationalgeographic.com/2016/12/feathered-dinosaur-tail-amber-theropod-myanmar-burma-cretaceous/

- https://www.sciencedaily.com/releases/2014/02/140224204737.htm


โพสต์ล่าสุด
bottom of page