top of page

การจำแนกไดโนเสาร์(ฉบับฉีกตำรา)


หากใครเป็นแฟนพันธ์แท้ไดโนเสาร์ ก็ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจำแนกไดโนเสาร์ นับตั้งแต่ค.ศ.1887 นักบรรพชีวินวิทยาได้แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่มหลักโดยใช้ลักษณะกระดูกเชิงกราน คือ และซอริสเชีย-Saurischia (สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน) และออร์นิธิสเชีย-Ornithischia (สะโพกแบบนก)

-ซอริสเชีย (Saurischia) กลุ่มนี้มีไดโนเสาร์เทอโรโพดา และ ซอโรโพโดมอร์ฟา

-ออร์นิทิสเชีย (Ornithischia) เช่น สเตโกซอรัส , ไทรเซราทอปส์ , ฮารโดรซอร์ ฯลฯ

แต่ล่าสุดนี้ ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของกรุ่งลอนดอนได้เสนอสมมติฐานใหม่เกี่ยวกับวงศ์วานวิวัฒนาการของไดโนเสาร์โดยวิเคราะห์จากตัวอย่างไดโนเสาร์ทั้งหมด 74 สายพันธุ์ จากลักษณะเฉพาะกว่า 400 ลักษณะ จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่าอันดับย่อยเทอโรโพดา (Theropoda) นั้นเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับอันดับออร์นิธิสเชีย (Ornithischia) รวมสองอันดับนี้เข้าด้วยกันเรียกว่า "ออร์นิโทสเซลิดา" (Ornithoscelida) [ คำว่า "ออร์นิโทสเซลิดา" ถูกคิดโดย โธมัส เฮกเลย์ ซึ่งก็เป็นคนแรกที่ได้เสนอทฤษฎีที่ว่านกวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์ ] อีกทางหนึ่ง ไดโนเสาร์วงศ์เฮอร์เรราซอริเด (Herrerasauridae) ได้เข้ามารวมอยู่ใกล้กับอันดับย่อยซอโรโพโดมอร์ฟา (Sauropodomorpha)

การวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการใหม่ล่าสุดของไดโนเสาร์ครั้งนี้ได้ผลักดันให้มีการทบทวนวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ยุคแรกเริ่มใหม่อีกครั้ง เนื่องจากลักษณะการกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารนั้นเกิดขึ้นอย่างอิสระในวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กินเนื้อ ซึ่งเห็นได้จากที่ไดโนเสาร์วงศ์เฮอร์เรราซอริเดกับพวกเทอโรพอดถูกจับแยกออกมา ซึ่งก็หมายความว่าไม่ได้มีบรรพบุรุษร่วมกัน(common ancestor) การวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการในครั้งนี้ยังอธิบายว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดและออร์นิโธพอดยุคแรกอาจเป็นลักษณะสืบทอดที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษเดียวกันแทน ซึ่งไม่เหมือนการจำแนกแบบเก่าที่อธิบายว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดกับออร์นิโธพอดยุคแรกว่าเป็นวิวัฒนาการการเบนเข้า (convergent evolution)

สำหรับสมมติฐานใหม่เกี่ยวกับการจำแนกไดโนเสาร์นี้ได้สร้างความตื่นตะลึงต่อวงการบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก ดูแล้วงานนี้สงสัยจะต้องจำกัดความคำว่า"ไดโนเสาร์"ใหม่ รวมไปถึงการกลับมาจำแนกกลุ่มย่อยต่าง ๆ ใหม่หมด งานนี้มีหวังวิเวียนศรีษะแน่นอน

อ้างอิง

Matthew G. Baron et al. A new hypothesis of dinosaur relationships and early dinosaur evolution. Nature, published online March 23, 2017; doi: 10.1038/nature21700


โพสต์ล่าสุด
bottom of page