แพนด้าสัญชาติไทย
หากยังจำกันได้ที่ครั้งหนึ่งเมืองไทยมีกระแสแพนด้าฟีเวอร์ ใคร ๆ ก็รู้จักกับเจ้า"หลินปิง"ลูกแพนด้าดาวเด่นจากสวนสัตว์เชียงใหม่ ทุกคนก็คงจะรู้กันดีว่าแพนด้ามีเฉพาะในเมืองจีน แต่เชื่อเหลือไม่ว่า ครั้งหนึ่ง แพนด้าเคยอาศัยอยู่ในป่าของประเทศไทย การค้นพบฟอสซิลหมีแพนด้าเกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2536 ในถ้ำวิมานนาดิน จ.ชัยภูมิ โดยพบฟอสซิลฟันกรามล่างซี่ในสุด ต่อมาในปีพ.ศ.2543 พบฟอสซิลของหมีแพนด้าที่ถ้ำแห่งหนึ่งใน จ.แม่ฮ่องสอน โดยพบฟอสซิลฟันกรามบน 2 ซี่ และ ฟันกรามล่าง 1 ซี่ จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าฟอสซิลแพนด้าที่พบทั้งสองที่นี้ มีอายุอยู่ในช่วงสมัยไพลสโตซีน
ฟอสซิลฟันกรามแพนด้า
ที่มา: นิตยสาร"สารคดี"
ที่นี้เราลองมาเช็คช่วงเวลาของสมัยไพลสซีนกัน ผลปรากฎว่า ช่วงสมัยไพสโตซีน เป็นช่วงเวลาที่โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งสลับร้อน ทางแถบซีกโลกเหนือมีอากาศที่หนาวเย็น สันนิษว่าสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงนั้นน่าจะเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไผ่ชนิดพิเศษที่โตในสภาพอากาศที่เย็น แต่พอเมื่อสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง(ประมาณ11,000ปีที่แล้ว) อากาศก็กลับมาอบอุ่นอีกครั้ง ต้นไผ่ที่หมีแพนด้าโปรดปานก็เริ่มถอยขึ้นไปทางตอนบน หมีแพนด้าก็ต้องอพยพออกไปตามแหล่งอาหารของมัน นั้นทำให้หมีแพนด้าย้ายออกไปจากประเทศไทย
แผนที่แสดงพื้นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ปัจจุบัน และพื้นที่ที่ค้นพบฟอสซิลแพนด้า
ที่มา: นิตยสาร"สารคดี"
คงพูดได้อีกว่า...แพนด้าช่วงช่วงและหลินหุ้ย กลับมาอยู่แผ่นดินที่บรรพบุรุษเคยอยู่อีกครั้ง!
อ้างอิง -สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา -รายงานวิชาการเรื่อง หมีแพนด้าเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดย เยาวลักษณ์ ชัยมณี สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี